วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ 


ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Mathematics

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต(คณิตศาสตร์)
ชื่อย่อภาษาไทย : วท.บ.(คณิตศาสตร์)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Mathematics)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Mathematics)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 15,000 บาท


ความสำคัญ ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ความสำคัญของหลักสูตร
    การที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็น “เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน” หรือ Hi-Value and Sustainable Thailand ต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นสาขาใดจะต้องอาศัยองศ์ความรู้ด้านคณิตศาสตร์เพื่อช่วยกำหนดกฎเกณฑ์ ทฤษฎีต่าง ๆ สร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ นำมาซึ่งวิธีแก้ปัญหาที่หลากหลาย และเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างรูปแบบจำลองต่าง ๆ สำหรับศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์เศรษฐศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ อีกทั้งคณิตศาสตร์และสถิติถูกใช้เป็นเครื่องมือหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล  ขนาดใหญ่ (Big data analysis) และที่สำคัญยิ่งต้องอาศัยความรู้ด้านคณิตศาสตร์พัฒนาอัลกอริทึมเพื่อเพิ่ม      ความรวดเร็วและแม่นยำในการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine learning) ในการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence System) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทย  มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ดังนั้นการเพิ่มจำนวนบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจด้านคณิตศาสตร์ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรฐกิจและสังคม การพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีศักยภาพและความพร้อมในการศึกษาต่อและวิจัยในระดับที่สูงขึ้นเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เกื้อหนุนการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีจิตใฝ่พัฒนา รักท้องถิ่นและรักษ์ความเป็นไทยและมีจรรยาบรรณตามหลักวิชาการและวิชาชีพ เพื่อที่จะให้บัณฑิตได้นำความรู้ความสามารถไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติอย่างเหมาะสม สร้างสรรค์และยั่งยืน

ปรัชญาของหลักสูตร
     มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้านคณิตศาสตร์สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์แก้ปัญหาหรือร่วมสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาองค์กรและสังคม มีจิตใฝ่พัฒนา มีจรรยาบรรณตามหลักวิชาการและวิชาชีพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว บัณฑิตมีสมรรถนะดังนี้ 
1. มีทักษะการให้เหตุผลและพิสูจน์ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ได
2. สามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างเป็นระบบโดยใช้ระเบียบวิธีทางคณิตศาสตร์ สถิติ หรือคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับปัญหาที่กำหนด
3. สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อแก้ปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูล เชิงตัวเลขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติรวมทั้งเทคโนโลยีเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ในปัจจุบันได้
5. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี
6. สามารถสื่อสารและถ่ายทอดความรู้ทางคณิตศาสตร์ให้ผู้อื่นเข้าใจได้  
7. มีจริยธรรม รู้จักกาลเทศะ เคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น

วีดีโอแนะนำหลักสูตร:   https://youtu.be/SGBm-gTnkdo

(บันทึกข้อมูล ณ วันที่ 1 ต.ค. 2565)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. นักวิชาการในหน่วยงานของรัฐ เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย
2. ผู้ช่วยนักวิจัยในหน่วยงานของรัฐ เช่น มหาวิทยาลัย กรมอุตุนิยมวิทยา
3. นักสถิติ
4. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลและโปรแกรมเมอร์
5. ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ข้อมูลด้านธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต
6. ประกอบอาชีพในหน่วยงานภาคเอกชนอื่น ๆ เช่น สถาบันการเงิน ธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์ 
7. ประกอบอาชีพส่วนตัวโดยใช้พื้นฐานความรู้ด้านคณิตศาสตร์ เช่น ติวเตอร์ ธุรกิจส่วนตัว 

วีดีโอ คุยกับศิษย์เก่าสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ จบแล้วไปทำงานอะไร
https://youtu.be/Uo9GSKT4MPc

(บันทึกข้อมูล ณ วันที่ 1 ต.ค. 2565)

จำนวนหน่วยกิตและโครงสร้างหลักสูตร

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  ไม่น้อยกว่า  128  หน่วยกิต  ประกอบด้วย 3 หมวด ดังต่อไปนี้

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป        ไม่น้อยกว่า        30  หน่วยกิต
    1.1 กลุ่มวิชาภาษา                                        15  หน่วยกิต
        1) กลุ่มภาษาไทย                                      3  หน่วยกิต
        2) กลุ่มภาษาอังกฤษ                               12  หน่วยกิต
    1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์                            3   หน่วยกิต
    1.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์                            3   หน่วยกิต
    1.4 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ                3   หน่วยกิต
    1.5 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและการจัดการ    3   หน่วยกิต
    1.6 กลุ่มวิชาเลือกศึกษาทั่วไป  ไม่น้อยกว่า  3  หน่วยกิต

2. หมวดวิชาเฉพาะ        ไม่น้อยกว่า              92   หน่วยกิต
    2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                      24  หน่วยกิต
    2.2 กลุ่มวิชาชีพบังคับ                               42  หน่วยกิต
    2.3 กลุ่มวิชาชีพเลือก    ไม่น้อยกว่า          24  หน่วยกิต 
    2.4 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ         2  หน่วยกิต

3. หมวดวิชาเลือกเสรี        ไม่น้อยกว่า           6  หน่วยกิต
   วิชาเลือกเสรี เป็นวิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ตามที่ตนเองถนัดหรือสนใจ โดยเปิดโอกาสให้
ผู้เรียนเลือกเรียนรายวิชาใด ๆ รวมไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต จากรายวิชาหลักสูตรระดับปริญญาตรีหรือ
รายวิชาที่เปิดเป็นวิชาเลือกเสรี

(บันทึกข้อมูล ณ วันที่ 1 ต.ค. 2565)

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร(หมวดวิชาเฉพาะ,วิชาพื้นฐาน,วิชาบังคับ,วิชาเลือก)

หมวดวิชาเฉพาะ (1.พื้นฐานวิชาชีพ+2.วิชาชีพบังคับ+3.วิชาชีพเลือก+4.วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ)  ไม่น้อยกว่า 92 หน่วยกิต

1.พื้นฐานวิชาชีพ                    จำนวน 24 หน่วยกิต
1101 105 ชีววิทยาทั่วไป (General Biology)    3(3-0-6)
1101 106 ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป(General Biology Laboratory)    1(0-3-0)
1102 104 เคมีทั่วไป (General Chemistry)    3(3-0-6)
1102 105 ปฏิบัติการเคมีทั่วไป(General Chemistry Laboratory)    1(0-3-0)
1103 104 ฟิสิกส์สำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์ (Physics for Science Students)    3(3-0-6)
1103 119 ปฏิบัติการฟิสิกส์สำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์ (Physics Laboratory for Science Students)    1(0-3-0)
1104 126 แคลคูลัส 1 (Calculus I)    3(3-0-6)
1104 127 แคลคูลัส 2 (Calculus II)    3(3-0-6)
1141 221 โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น(Introduction to Mathematical Software)    3(2-2-5)
1105 231 นวัตกรรมการเรียนรู้ฟิสิกส์ (Learning Innovation in Physics)    3(2-2-5) 

2.วิชาชีพบังคับ                จำนวน 42 หน่วยกิต
1104 223 แคลคูลัส 3 (Calculus III)    3(3-0-6)
1141 111 การใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Reasoning)    2(2-0-4)
1141 211 หลักคณิตศาสตร์ (Principles of Mathematics)    3(3-0-6)
1141 212 พีชคณิตเชิงเส้น 1 (Linear Algebra I)    3(3-0-6)
1141 213 พีชคณิตนามธรรม  (Abstract Algebra)    3(3-0-6)
1141 214 การวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Analysis)    3(3-0-6)
1141 222 วิธีเชิงตัวเลข 1 (Numerical Methods I)    3(3-0-6)
1141 223 สมการเชิงอนุพันธ์ (Differential Equations)    3(3-0-6)
1141 231 ความน่าจะเป็นและสถิติ (Probability and Statistics)    3(3-0-6)
1141 311 ตัวแปรเชิงซ้อน (Complex Variables)    3(3-0-6)
1141 321 การวิจัยดำเนินงาน 1 (Operations Research I)    3(3-0-6)
1141 322 การสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Modeling)    3(3-0-6)
1141 323 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับคณิตศาสตร์ (Computer Programming for Mathematics)    3(2-2-5)
1141 441 สัมมนา (Seminar)     1(1-0-2)
1141 442 โครงงานคณิตศาสตร์ (Mathematics Project)    3 หน่วยกิต

3. วิชาชีพเลือก (ก.กลุ่มคณิตศาสตร์  ข.กลุ่มสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล)                 ไม่น้อยกว่า  24  หน่วยกิต

ก. กลุ่มคณิตศาสตร์ (Mathematics)
1141 216 นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการสอนคณิตศาสตร์  (Innovation and Technology for Teaching Mathematics)    3(3-0-6)
1141 312 พีชคณิตเชิงเส้น 2 (Linear Algebra II)    3(3-0-6)
1141 313 การวิเคราะห์เชิงฟังก์ชันเบื้องต้น (Introduction to Functional Analysis)    3(3-0-6)
1141 314 ทฤษฎีจำนวน (Number Theory)    3(3-0-6)
1141 315 ทอพอโลยี (Topology)    3(3-0-6)
1141 316 ทฤษฎีกราฟ (Graph Theory)    3(3-0-6)
1141 317 ทฤษฎีกรุป (Group Theory)    3(3-0-6)
1141 318 คณิตศาสตร์เชิงการจัด (Combinatorics)    3(3-0-6)
1141 319 การวิเคราะห์ไม่เชิงเส้นและคอนเวกซ์เบื้องต้น (Introduction to Nonlinear and Convex Analysis)    3(3-0-6)
1141 324 สมการเชิงอนุพันธ์ย่อย (Partial Differential Equations)    3(3-0-6)
1141 325 วิธีเชิงตัวเลข 2 (Numerical Methods II)    3(3-0-6)
1141 326 การแปลงฟูเรียร์และลาปลาซ (Fourier and Laplace Transforms)                                   3(3-0-6)
1141 327 ระเบียบวิธีไฟไนต์วอลุ่มสำหรับกฎการอนุรักษ์  (Finite Volume Methods for Conservation Laws)           3(3-0-6)
1141 411 ทฤษฎีเซต (Set Theory)    3(3-0-6)
1141 412 หัวข้อคัดสรรทางคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ (Selected Topics in Pure Mathematics)    3(3-0-6)
1141 421 หัวข้อคัดสรรทางคณิตศาสตร์ประยุกต์ (Selected Topics in Applied Mathematics)    3(3-0-6)        

ข. กลุ่มสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล (Statistics and Data Analysis)    
1141 331 ทฤษฎีความน่าจะเป็น (Probability Theory)    3(3-0-6)
1141 332 สถิติเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Statistics)    3(3-0-6)
1141 333 ระเบียบวิธีทางสถิติ (Statistical Methods)    3(3-0-6)
1141 334 การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis)    3(3-0-6)
1141 335 อนุกรมเวลาและการพยากรณ์ (Times Series and Forcasting)    3(3-0-6)
1141 336 ทฤษฎีเกมและกลยุทธ์ทางธุรกิจ  (Game Theory and Business Strategy)    3(3-0-6)      
1141 337 การหาค่าเหมาะสมที่สุดไม่เชิงเส้นด้านการเงิน (Nonlinear Optimization in Finance)    3(3-0-6)
1141 338 การวิจัยดำเนินงาน 2 (Operations Research II)    3(3-0-6)
1141 339 ตัวแบบคณิตศาสตร์การเงิน (Mathematical Models of Finance)    3(3-0-6)
1141 431 คณิตศาสตร์สำหรับการลงทุน (Mathematics for Investment)    3(2-2-5)
1141 432 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล (Software Package for Data Analysis)    3(2-2-5)
1141 433 การเขียนโปรแกรมขั้นต้นสำหรับงานวิทยาการข้อมูลและการแสดงข้อมูล
               (Basic Programming for Data Science and Data Visualization)   3(2-2-5)
1141 434 คณิตศาสตร์และการเขียนโปรแกรมสำหรับการเรียนรู้ของเครื่อง    
              (Mathematical and Programming for Machine Learning)      3(2-2-5)
1141 435 การทำเหมืองข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Data Mining and Big Data Analytics)    3(2-2-5)
1141 436 คณิตศาสตร์ประกันชีวิต (Life Insurance Mathematics)    3(3-0-6)
1141 437 หัวข้อคัดสรรทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูล (Selected Topics in Statistics and Data Analysis)  3(3-0-6)

4.วิชาฝึกประสบการณ์                จำนวน  2 หน่วยกิ
1141 443 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคณิตศาสตร์ (Field Experience in Mathematics)    2  หน่วยกิต

(บันทึกข้อมูล ณ วันที่ 1 ต.ค. 2565)

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร(หมวดวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ)

-

แผนการศึกษา

ชั้นปีที่  1 ภาคต้น
    XXXX XXX กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ    3  หน่วยกิต
    1111 105 ชีววิทยาทั่วไป General Biology)    3(3-0-6)
    1111 106 ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป (General Biology Laboratory)    1(0-3-0)
    1103 104 ฟิสิกส์สำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์ (Physics for Science Students)        3(3-0-6)
    1103 119 ปฏิบัติการฟิสิกส์สำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์ (Physics Laboratory for Science Students)   1(0-3-0)
    1104 126 แคลคูลัส 1 (Calculus I)    3(3-0-6)
    1105 231 นวัตกรรมการเรียนรู้ฟิสิกส์ (Learning Innovation in Physics)          3(2-2-5)
    รวม    17  หน่วยกิต

ชั้นปีที่  1 ภาคปลาย
    1421 102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 (Foundation English I)    3(3-0-6)
    1411 101 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai Language for Communication)    3(3-0-6)    
    1102 104 เคมีทั่วไป (General Chemistry)    3(3-0-6)
    1102 105 ปฏิบัติการเคมีทั่วไป (General Chemistry Laboratory)    1(0-3-0)
    1104 127 แคลคูลัส 2 (Calculus II)    3(3-0-6)    
    1141 111 การใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Reasoning)    2(2-0-4)
    1141 231 ความน่าจะเป็นและสถิติ (Probability and Statistics)    3(3-0-6)
    รวม    18  หน่วยกิต

ชั้นปีที่  2  ภาคต้น
    1421 103 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2 (Foundation English II)    3(3-0-6)
    XXXX XXX กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์    3  หน่วยกิต
    1141 221 โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น(Introduction to Mathematical Software)    3(2-2-5)
    1104 223 แคลคูลัส 3 (Calculus III)    3(3-0-6)
    1141 211 หลักคณิตศาสตร์ (Principles of mathematics)    3(3-0-6)
    1141 223 สมการเชิงอนุพันธ์ (Differential Equations)    3(3-0-6)
    รวม    18  หน่วยกิต

ชั้นปีที่  2  ภาคปลาย
    1421 222 ภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(English for Science and Technology)    3(3-0-6)
    XXXX XXX กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์    3 หน่วยกิต
    1141 212 พีชคณิตเชิงเส้น 1 (Linear Algebra I)    3(3-0-6)
    1141 213 พีชคณิตนามธรรม  (Abstract Algebra)    3(3-0-6)
    1141 214 การวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Analysis)    3(3-0-6)
    1141 222 วิธีเชิงตัวเลข 1 (Numerical Methods I)    3(3-0-6)
    รวม    18  หน่วยกิต

ชั้นปีที่  3  ภาคต้น
    1421 218 ภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ (English for Career Preparation)        3(3-0-6)
    1141 311 ตัวแปรเชิงซ้อน (Complex Variables)    3(3-0-6)
    1141 321 การวิจัยดำเนินงาน 1 (Operations Research I)    3(3-0-6)
    1141 322 การสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Modeling)    3(2-2-5)
    1141 323 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับคณิตศาสตร์(ComputerProgramming for Mathematics) 3(2-2-5)
    XXXX XXX รายวิชาเลือกเสรี    3 หน่วยกิต
    รวม    18  หน่วยกิต

ชั้นปีที่  3  ภาคปลาย
    XXXX XXX กลุ่มวิชาเทคโนโลยีนวัตกรรมและการจัดการ    3 หน่วยกิต
    XXXX XXX รายวิชาในกลุ่มวิชาชีพเลือก    3 หน่วยกิต
    XXXX XXX รายวิชาในกลุ่มวิชาชีพเลือก    3 หน่วยกิต
    XXXX XXX รายวิชาในกลุ่มวิชาชีพเลือก    3 หน่วยกิต
    XXXX XXX รายวิชาในกลุ่มวิชาชีพเลือก    3 หน่วยกิต
    รวม    15  หน่วยกิต
 
ชั้นปีที่  4  ภาคต้น
    XXXX XXX กลุ่มวิชาเลือกศึกษาทั่วไป        3 หน่วยกิต
    XXXX XXX รายวิชาในกลุ่มวิชาชีพเลือก    3 หน่วยกิต
    XXXX XXX รายวิชาในกลุ่มวิชาชีพเลือก    3 หน่วยกิต
    XXXX XXX รายวิชาในกลุ่มวิชาชีพเลือก    3 หน่วยกิต
    1141 441 สัมมนา (Seminar)    1(1-0-2)
    1141 443 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางคณิตศาสตร์ (Field Experience in Mathematics)    2 หน่วยกิต*
   รวม    15  หน่วยกิต     
* นักศึกษาต้องฝึกประสบการณ์ฯในภาคฤดูร้อน ชั้นปีที่ 3    

ชั้นปีที่  4  ภาคปลาย
    XXXX XXX รายวิชาในกลุ่มวิชาชีพเลือก                                 3 หน่วยกิต
    1141 442 โครงงานคณิตศาสตร์ (Mathematics Project)       3 หน่วยกิต
    XXXX XXX รายวิชาเลือกเสรี    3 หน่วยกิต
    รวม    9  หน่วยกิต

รวมหน่วยกิตตลอดการศึกษา  อย่างน้อย    128   หน่วยกิต

วีดีโอ แนะนำการเรียนการสอนสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ
https://youtu.be/Zm6ar7421GY

(บันทึกข้อมูล ณ วันที่ 1 ต.ค. 2565)

เอกสารเพิ่มเติม

  วีดีโอ_แนะนำหลักสูตรคณิตศาสตร์_ม_อบ_.pdf  ส่งคำถามเกียวกับหลักสูตร.pdf  มคอ2_หลักสูตรคณิตศาสตร์65_สภาอนุมัติ_เมื่อ_28_พค_65.pdf  คุยกับนักศึกษาคณิตศาสตร์_ม_อบ_.pdf

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน

  ผศ.ดร.กนกพร ช่างทอง ( ประธานหลักสูตร )

Pure Mathematics ,  Poisson algebras and Poisson modules

Inverse Problems, Applied Analysis, Numerical Analysis, Applied Mathematics

การวิจัยดำเนินงาน ศึกษา ผลเฉลยของปัญหาที่มีตัวแบบในรูปกำหนดการเเชิงจำนวนเต็ม เช่น ปัญหาการจัดตารางงานของพยาบาล ปัญหาการจัดการฝูงบินของสายการบิน

  • Fixed Point Theory and Applications
  • Number Theory
  • Mathematical Education

Scopus Author ID: 14054499800

https://www.scopus.com/authid/detail.uri?authorId=14054499800

ORCID ID