วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุ 


ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขานวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุ
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Innovative Materials Technology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุ)
ชื่อย่อภาษาไทย : วท.บ. (นวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุ)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Innovative Materials Technology)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Innovative Materials Technology)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 15,000 บาท


ความสำคัญ ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

IMT POSTER 2023 โดย Kanjana Ongkasin

 

 

ความสำคัญของหลักสูตร

การพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy Model) สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง จำเป็นต้องอาศัยความก้าวหน้าของวิทยาการและบุคลากรด้านวัสดุศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านวัสดุชีวการแพทย์ วัสดุพลังงาน วัสดุเซนเซอร์และนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อวัสดุท้องถิ่นที่ยั่งยืน ดังนั้น การจัดการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุจึงมีบทบาทสำคัญต่อการผลิตงานวิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุตลอดจนผลิตบุคลากรที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคตที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงต่อไป

 

 

ปรัชญาของหลักสูตร 

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุสามารถคิดวิเคราะห์ คิดริเริ่มและแก้ปัญหา ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้และการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บูรณาการองค์ความรู้เพื่อผลิตผลงานนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการและเพิ่มมูลค่าของวัสดุท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีทักษะทางสังคม (Soft Skills) มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการทำงานและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว บัณฑิตจะมีสมรรถนะดังต่อไปนี้

  1. สามารถบูรณาการองค์ความรู้ในการผลิตผลงานและสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากวัสดุท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าของวัสดุท้องถิ่น
  2. สามารถใช้องค์ความรู้ภาคทฤษฎีและทักษะภาคปฏิบัติในการทำงานและเรียนรู้ความก้าวหน้าทางนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุด้วยตนเองตลอดเวลา
  3. สามารถคิดวิเคราะห์ คิดริเริ่มและแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับวัสดุร่วมกับสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับวัสดุชีวการแพทย์ วัสดุพลังงาน วัสดุเซนเซอร์และนวัตกรรมวัสดุท้องถิ่น โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ
  4. สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและทักษะทางสังคมในการทำงานและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตลอดชีวิตและเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจรรยาบรรณในวิชาชีพและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  • นักวิทยาศาสตร์ด้านวัสดุทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  • นักวิจัยพัฒนาวัสดุทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  • เจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิตวัสดุ
  • เจ้าหน้าที่ตรวจสอบกระบวนการผลิตวัสดุ
  • เจ้าหน้าที่ประกันและควบคุณคุณภาพวัสดุ
  • เจ้าหน้าที่ทดสอบวัสดุ
  • ผู้ประกอบการนวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุ
จำนวนหน่วยกิตและโครงสร้างหลักสูตร

FEZw9e.jpg

 FEcvX1.jpg

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร(หมวดวิชาเฉพาะ,วิชาพื้นฐาน,วิชาบังคับ,วิชาเลือก)
รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร(หมวดวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ)

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรในส่วนของวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ จะถูกสอดแทรกไปกับการเรียนการสอนในกลุ่มวิชาเลือกเพื่อความถนัดเฉพาะทาง โดยจะอยู่ในรายวิชาสัมนา และวิชาหัวข้อคัดสรร นักศึกษาจะได้เรียนรู้หลักการทำงาน การค้นคว้าอิสระ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานสำหรับการทำงานจริงด้านวิจัยอและการทำงานร่วมกับอุตสาหกรรม

แผนการศึกษา

เอกสารเพิ่มเติม

  แผนการศึกษา_วท_บ__(นวัตกรรมเทคโนโลยีวัสดุ).pdf  รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร_IMT.pdf

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน

  ผศ.ดร.อ้อฤทัย ใจบุญ ( ประธานหลักสูตร )

Development of Nuclear Radiation Shielding materials
Development of long-range data transmission to support radiation detection system
Fabrication of Carbon Fiber Reinforced Polymer (CFRP)
Applications of Carbon Nanotube- and Graphene-based materials

Atomistic tight-binding theory in semiconductor nanostructures

Density function theory in dilute magnetic semiconductors

Superadsorbent polymers, Hydrogels, Biodegradable Materials, Slow released fertilizer, metal and dye removal.

nanomaterials

Magnetic materials for bioapplications